1.บริบทของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านคลองชะอุ่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตบริการของโรงเรียน มีอยู่ 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 โดยมีนายธรรมนูญ ทับเมือง เป็นผู้ใหญ่บ้าน และหมู่ที่ 13 โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ ทองกลำ เป็นผู้ใหญ่บ้าน จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้บริหารโรงเรียนนายเฉลิม เกตุพงษ์พันธ์
วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านคลองชะอุ่น จัดการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถเต็มศักยภาพ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและมีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
พันธกิจ
1. ส่งเสริม สนับสนุน การเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. จัดให้มีการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกด้าน
3. จัดให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาการจัดการศึกษา
4. พัฒนาสุขภาพนักเรียนให้สมบูรณ์ แข็งแรง
5. ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและเป็นผู้มีจิตสาธารณะ
6. ปลูกฝังให้นักเรียนมีความสำนักต่อความเป็นไทย
7. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่
เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ
2. ผู้เสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดความรู้ต่ตนเองและสังคมได้
3. ผู้เรียนทุกคนมีสุขภาพอนามัยที่ดี
4. ผู้เรียนทุกคนมีความเป็นไทย
5. ผู้เรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีจิตสาธารณะ
6. ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
คำขวัญ
เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม นำวิชาการ ประสานชุมชน
สภาพปัจจุบัน
ในปัจจุบันโรงเรียนบ้านคลองชะอุ่นจัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีบุคลากรทั้งหมด 15 คน เป็นครูประจำการ 13 คน ครูจ้างสอน 1 คน และนักการภารโรง 1 คน มีนักเรียนทั้งหมด 136 คน เป็นนักเรียนชาย 74 คน นักเรียนหญิง 62 คน
จุดเด่น
1. สภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีอาณาบริเวณกว้างขวาง มีสนามให้เด็กๆเล่นอย่างปลอดภัย
2. มีครูเพียงพอกับจำนวนของเด็กสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง
3. มีการประสานงานกับชุมชนได้เป็นอย่างดี ชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
4. มีสื่ออุปกรณ์ที่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน
5. มีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทุกห้องเรียน
จุดด้อย
1. คุณครูบางคนมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนและการใช้คอมพิวเตอร์น้อย
2. นักเรียนขาดสุขนิสัยที่ดีต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง
3. นักเรียนใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย และไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4. นักเรียนในระดับมัธยมมีความเห็นแก่ตัวสูงไม่มีน้ำใจและไม่รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
5. ครูบางท่านมีภาระงานอื่น ๆ มากมาย มีเวลาในการเตรียมการสอนน้อย
6. ครูขาดความตระหนักในการปลูกฝังด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรมสำหรับเด็กทำให้นักเรียนก้าวร้าวพูดจาไม่สุภาพ
7. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไม่ค่อยได้ดำเนินการอย่างจริงจัง
โอกาสที่จะพัฒนา
โรงเรียนบ้านคลองชะอุ่นมีสื่อและอุปกรณ์ที่พร้อม มีบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทาง ทำให้สามารถพัฒนานักเรียนในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับชุมชนได้เป็นอย่างดีทำให้พัฒนาองค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นโรงเรียนที่เป็นแหล่งความรู้ และมีความทันสมัยในอนาคต
2. ระบบข้อมูลสถานศึกษา มีการจัดทำสารสนเทศของโรงเรียน โดยงานแผนงานและสารสนเทศโรงเรียน มีปฏิทินปฏิบัติงาน ข้าพเจ้าคิดว่าโรงเรียนจัดระบบได้เป็นอย่างดี แต่ควรที่จัดระบบงานให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูลของครูในโรงเรียนด้วย
ข้อมูลนักเรียน มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล เป็นห้องเรียน โดยครูประจำชั้น สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวของนักเรียนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เก็บข้อมูลของนักเรียนไว้ที่ครูประจำชั้น ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการเก็บข้อมูลที่ดี
ข้อมูลบุคลากร มีการจัดเก็บข้อมูลบุคลากรเป็นแฟ้มรายบุคคลโดยมีฝ่ายบุคลากรเป็นผู้รับผิดชอบ ข้าพเจ้าคิดว่าควรมีการปรับปรุงโดยการจัดเก็บข้อมูลของบุคลการเป็นรายบุคคลในรูปของไฟล์ข้อมูล มีการจัดเก็บให้เป็นระบบมากกว่าเดิม แยกบุคลากรเป็นฝ่ายงานพร้อมรูปภาพ ประวัติ
ข้อมูลงานทะเบียนนักเรียน มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการแยกเก็บเป็นปีการศึกษา มีประวัติของนักเรียน ประกอบด้วยเลขประจำตัวนักเรียน ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ ชื่อพ่อ แม่ อาชีพผู้ปครอง ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่ายและสะดวกแต่ควรติดเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ละฝ่ายเพื่อความสะดวกในการสืบค้นของแต่ละฝ่าย
ข้อมูลงานวิชาการและข้อมูลแต่ละฝ่าย มีการจัดเก็บข้อมูลแต่ละฝ่ายอย่างเป็นระบบ ผู้ที่ต้องการข้อมูลสามารถเข้าไปสืบหาข้อมูลได้ ข้าพเจ้าคิดว่า ระบบข้อมูลที่มีอยู่มีสภาพที่ดี แต่ควรได้รับการพัฒนาให้ดีกว่าปัจจุบันโดยการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของแต่ละฝ่ายแล้วนำข้อมูลที่มีอยู่ไปจัดเก็บไว้หากฝ่ายใดต้องการข้อมูลก็สามารถเปิดดูได้โดยทันที
3. ระบบนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- จัดทำสื่อการสอนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
- เป็นสื่อที่ทันสมัยเหมาะสำหรับนักเรียน แต่ว่าสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นั้น อาจต้องใช้เวลาในการทำนาน ครูจึงต้องค่อยไปค่อยไปเพื่อให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น
วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553
สรุปการใช้โปรแกรม SPSS (กิจกรรมที่ 3)
ขั้นตอนการใช้โปรแกรม SPSS FOR WINDOWS
การเปิดใช้โปรแกรม
คลิก Start All Programs SPSS for Windows SPSS 11.5 for Windows
หรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows
เมื่อเข้ามาสู่ด้านหน้าของโปรแกรม SPSS ให้ดำเนินการดังนี้
1. กำหนดค่าตัวแปรใน variable view
1.1 ช่องเซลล์ name พิมพ์ชื่อ ตัวแปรแรก ก็คือ เพศ ส่วนช่องเซลล์ต่อมาพิมพ์ข้อคำถามตามแบบสอบถามที่เราจะวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่ข้อ 1ไปเรื่อยๆจนถึงข้อสุดท้ายโดยใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนข้อในแต่ละข้อ เช่นข้อที่ 1 แทน a1 ข้อที่ 2 แทน a2 ไปเรื่อยๆจนถึงข้อสุดท้าย
1.2 ช่องเซลล์ width ให้ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
1.3 ช่องเซลล์ decimals เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการส่วนใหญ่ที่ใช้คือทศนิยม 2 ตำแหน่ง
1.4 ช่องเซลล์ value ให้ระบุค่าของตัวแปรโดยใช้ตัวเลขแทน เช่น เพศมีอยู่ 2 เพศ ให้ 1 แทน เพศชาย และ 2 แทนเพศหญิง ส่วนข้อคำถามให้ระบุตามค่าที่ได้กำหนดไว้ในแบบสอบถาม คือ 1 แทน น้อยที่สุด 2 แทน น้อย 3 แทน ปานกลาง 4 แทน มาก และ 5 แทน มากที่สุด เพื่อง่ายในการคีย์ข้อมูลลงไปวิเคราะห์
2.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด (20 ชุด) โดยที่ข้อมูลที่คีย์ลงไปนั้นตัวเลขที่ใส่ลงไปต้องเป็นเลข 1-5 เท่านั้น ถ้ามีตัวเลขอื่นแสดงว่าคีย์ลงไปผิด จะต้องคีย์ลงไปใหม่เพราะตอนเรากำหนดค่าตัวแปรนั้นเรากำหนดตัวเลขเป็น 1-5 เท่านั้น
3.เมื่อคีย์ข้อมูลลงไปครบทุกฉบับแล้ว ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
-เลือก transform compute sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok เป็นการวิเคราะห์ผลรวม ของข้อคำถามในแต่ละด้าน
-เลือก analyzedescriptive statistic frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ a1,a2,...d3
แล้วคลิก ok จะแสดงประมวลผลออกมาในรูปความถี่ ค่าเฉลี่ย
-เลือก analyzedescriptive statistic descriptive statistic จะแสดงประมวลผลออกมาในรูปของ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด
-การบันทึกแฟ้มข้อมูล เมื่อป้อนข้อมูลแล้ว สามารถบันทึกข้อมูลที่ป้อนเก็บไว้ใช้ โดยเลือก เมนู File เลือก Save as เลือก Drive ที่ต้องการ แล้วตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล คลืก OK โปรแกรมจะบันทึก ไฟล์ ซึ่งมีนามสกุล .sav ให้โดยอัตโนมัติ
-การปิดโปรแกรม เลือกเมนู Flie เลือก Exit โปรแกรมก็จะถูกปิดลง
ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามของอาจารย์
1. ตอนที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถาม เพศชาย 12 คน ร้อยละ 60 เพศหญิง 8 คน ร้อยละ 40
2. ตอนที่ 2 แบบสอบถาม
ด้านกระบวนการ / ขั้นตอนการให้บริการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .38
ด้านวิทยากรผู้ให้บริการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .43
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .32
ด้านคุณภาพการให้บริการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .28
ผลรวมของทุกด้าน ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .17
การเปิดใช้โปรแกรม
คลิก Start All Programs SPSS for Windows SPSS 11.5 for Windows
หรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows
เมื่อเข้ามาสู่ด้านหน้าของโปรแกรม SPSS ให้ดำเนินการดังนี้
1. กำหนดค่าตัวแปรใน variable view
1.1 ช่องเซลล์ name พิมพ์ชื่อ ตัวแปรแรก ก็คือ เพศ ส่วนช่องเซลล์ต่อมาพิมพ์ข้อคำถามตามแบบสอบถามที่เราจะวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่ข้อ 1ไปเรื่อยๆจนถึงข้อสุดท้ายโดยใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนข้อในแต่ละข้อ เช่นข้อที่ 1 แทน a1 ข้อที่ 2 แทน a2 ไปเรื่อยๆจนถึงข้อสุดท้าย
1.2 ช่องเซลล์ width ให้ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
1.3 ช่องเซลล์ decimals เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการส่วนใหญ่ที่ใช้คือทศนิยม 2 ตำแหน่ง
1.4 ช่องเซลล์ value ให้ระบุค่าของตัวแปรโดยใช้ตัวเลขแทน เช่น เพศมีอยู่ 2 เพศ ให้ 1 แทน เพศชาย และ 2 แทนเพศหญิง ส่วนข้อคำถามให้ระบุตามค่าที่ได้กำหนดไว้ในแบบสอบถาม คือ 1 แทน น้อยที่สุด 2 แทน น้อย 3 แทน ปานกลาง 4 แทน มาก และ 5 แทน มากที่สุด เพื่อง่ายในการคีย์ข้อมูลลงไปวิเคราะห์
2.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด (20 ชุด) โดยที่ข้อมูลที่คีย์ลงไปนั้นตัวเลขที่ใส่ลงไปต้องเป็นเลข 1-5 เท่านั้น ถ้ามีตัวเลขอื่นแสดงว่าคีย์ลงไปผิด จะต้องคีย์ลงไปใหม่เพราะตอนเรากำหนดค่าตัวแปรนั้นเรากำหนดตัวเลขเป็น 1-5 เท่านั้น
3.เมื่อคีย์ข้อมูลลงไปครบทุกฉบับแล้ว ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
-เลือก transform compute sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok เป็นการวิเคราะห์ผลรวม ของข้อคำถามในแต่ละด้าน
-เลือก analyzedescriptive statistic frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ a1,a2,...d3
แล้วคลิก ok จะแสดงประมวลผลออกมาในรูปความถี่ ค่าเฉลี่ย
-เลือก analyzedescriptive statistic descriptive statistic จะแสดงประมวลผลออกมาในรูปของ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด
-การบันทึกแฟ้มข้อมูล เมื่อป้อนข้อมูลแล้ว สามารถบันทึกข้อมูลที่ป้อนเก็บไว้ใช้ โดยเลือก เมนู File เลือก Save as เลือก Drive ที่ต้องการ แล้วตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล คลืก OK โปรแกรมจะบันทึก ไฟล์ ซึ่งมีนามสกุล .sav ให้โดยอัตโนมัติ
-การปิดโปรแกรม เลือกเมนู Flie เลือก Exit โปรแกรมก็จะถูกปิดลง
ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามของอาจารย์
1. ตอนที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถาม เพศชาย 12 คน ร้อยละ 60 เพศหญิง 8 คน ร้อยละ 40
2. ตอนที่ 2 แบบสอบถาม
ด้านกระบวนการ / ขั้นตอนการให้บริการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .38
ด้านวิทยากรผู้ให้บริการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .43
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .32
ด้านคุณภาพการให้บริการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .28
ผลรวมของทุกด้าน ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .17
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)