วันอาทิตย์ที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2553

กิจกรรมที่ 4

1.บริบทของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านคลองชะอุ่น ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 ตำบลคลองชะอุ่น อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา เขตบริการของโรงเรียน มีอยู่ 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ 1 โดยมีนายธรรมนูญ ทับเมือง เป็นผู้ใหญ่บ้าน และหมู่ที่ 13 โดยมีนายพงษ์ศักดิ์ ทองกลำ เป็นผู้ใหญ่บ้าน จัดการศึกษาตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้บริหารโรงเรียนนายเฉลิม เกตุพงษ์พันธ์

วิสัยทัศน์
โรงเรียนบ้านคลองชะอุ่น จัดการเรียนการสอน ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความรู้ ความสามารถเต็มศักยภาพ ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและมีคุณภาพตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษาโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

พันธกิจ
1. ส่งเสริม สนับสนุน การเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. จัดให้มีการพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนในทุกด้าน
3. จัดให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาพัฒนาการจัดการศึกษา
4. พัฒนาสุขภาพนักเรียนให้สมบูรณ์ แข็งแรง
5. ปลูกฝังให้นักเรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและเป็นผู้มีจิตสาธารณะ
6. ปลูกฝังให้นักเรียนมีความสำนักต่อความเป็นไทย
7. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศสมัยใหม่

เป้าประสงค์
1. ผู้เรียนทุกคนเกิดการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ และพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ
2. ผู้เสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันให้เกิดความรู้ต่ตนเองและสังคมได้
3. ผู้เรียนทุกคนมีสุขภาพอนามัยที่ดี
4. ผู้เรียนทุกคนมีความเป็นไทย
5. ผู้เรียนทุกคนมีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นผู้มีจิตสาธารณะ
6. ผู้เรียนทุกคนสามารถเรียนรู้ตามกระบวนการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

คำขวัญ
เรียนดี กีฬาเด่น เน้นคุณธรรม นำวิชาการ ประสานชุมชน

สภาพปัจจุบัน
ในปัจจุบันโรงเรียนบ้านคลองชะอุ่นจัดการศึกษาระดับชั้นอนุบาลจนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีบุคลากรทั้งหมด 15 คน เป็นครูประจำการ 13 คน ครูจ้างสอน 1 คน และนักการภารโรง 1 คน มีนักเรียนทั้งหมด 136 คน เป็นนักเรียนชาย 74 คน นักเรียนหญิง 62 คน

จุดเด่น
1. สภาพแวดล้อมของโรงเรียนมีอาณาบริเวณกว้างขวาง มีสนามให้เด็กๆเล่นอย่างปลอดภัย
2. มีครูเพียงพอกับจำนวนของเด็กสามารถดูแลนักเรียนได้อย่างทั่วถึง
3. มีการประสานงานกับชุมชนได้เป็นอย่างดี ชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
4. มีสื่ออุปกรณ์ที่เพียงพอต่อความต้องการของนักเรียน
5. มีโทรทัศน์ทางไกลผ่านดาวเทียมจากโรงเรียนไกลกังวล หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทุกห้องเรียน

จุดด้อย
1. คุณครูบางคนมีความรู้เกี่ยวกับการใช้สื่อการสอนและการใช้คอมพิวเตอร์น้อย
2. นักเรียนขาดสุขนิสัยที่ดีต่อการดูแลสุขภาพของตนเอง
3. นักเรียนใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย และไม่รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์
4. นักเรียนในระดับมัธยมมีความเห็นแก่ตัวสูงไม่มีน้ำใจและไม่รู้จักช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
5. ครูบางท่านมีภาระงานอื่น ๆ มากมาย มีเวลาในการเตรียมการสอนน้อย
6. ครูขาดความตระหนักในการปลูกฝังด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรมสำหรับเด็กทำให้นักเรียนก้าวร้าวพูดจาไม่สุภาพ
7. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญไม่ค่อยได้ดำเนินการอย่างจริงจัง

โอกาสที่จะพัฒนา
โรงเรียนบ้านคลองชะอุ่นมีสื่อและอุปกรณ์ที่พร้อม มีบุคลากรที่มีความรู้เฉพาะทาง ทำให้สามารถพัฒนานักเรียนในโรงเรียนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับชุมชนได้เป็นอย่างดีทำให้พัฒนาองค์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นโรงเรียนที่เป็นแหล่งความรู้ และมีความทันสมัยในอนาคต

2. ระบบข้อมูลสถานศึกษา มีการจัดทำสารสนเทศของโรงเรียน โดยงานแผนงานและสารสนเทศโรงเรียน มีปฏิทินปฏิบัติงาน ข้าพเจ้าคิดว่าโรงเรียนจัดระบบได้เป็นอย่างดี แต่ควรที่จัดระบบงานให้ง่ายต่อการค้นหาข้อมูลของครูในโรงเรียนด้วย
ข้อมูลนักเรียน มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล เป็นห้องเรียน โดยครูประจำชั้น สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับตัวของนักเรียนได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว เก็บข้อมูลของนักเรียนไว้ที่ครูประจำชั้น ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นการเก็บข้อมูลที่ดี
ข้อมูลบุคลากร มีการจัดเก็บข้อมูลบุคลากรเป็นแฟ้มรายบุคคลโดยมีฝ่ายบุคลากรเป็นผู้รับผิดชอบ ข้าพเจ้าคิดว่าควรมีการปรับปรุงโดยการจัดเก็บข้อมูลของบุคลการเป็นรายบุคคลในรูปของไฟล์ข้อมูล มีการจัดเก็บให้เป็นระบบมากกว่าเดิม แยกบุคลากรเป็นฝ่ายงานพร้อมรูปภาพ ประวัติ
ข้อมูลงานทะเบียนนักเรียน มีการจัดเก็บข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล มีการแยกเก็บเป็นปีการศึกษา มีประวัติของนักเรียน ประกอบด้วยเลขประจำตัวนักเรียน ชื่อ-นามสกุล วันเดือนปีเกิด ที่อยู่ ชื่อพ่อ แม่ อาชีพผู้ปครอง ข้าพเจ้าคิดว่ามีความเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่ายและสะดวกแต่ควรติดเครือข่ายอินเตอร์เน็ตแต่ละฝ่ายเพื่อความสะดวกในการสืบค้นของแต่ละฝ่าย
ข้อมูลงานวิชาการและข้อมูลแต่ละฝ่าย มีการจัดเก็บข้อมูลแต่ละฝ่ายอย่างเป็นระบบ ผู้ที่ต้องการข้อมูลสามารถเข้าไปสืบหาข้อมูลได้ ข้าพเจ้าคิดว่า ระบบข้อมูลที่มีอยู่มีสภาพที่ดี แต่ควรได้รับการพัฒนาให้ดีกว่าปัจจุบันโดยการสร้างเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของแต่ละฝ่ายแล้วนำข้อมูลที่มีอยู่ไปจัดเก็บไว้หากฝ่ายใดต้องการข้อมูลก็สามารถเปิดดูได้โดยทันที

3. ระบบนวัตกรรมที่ใช้ในการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- จัดทำสื่อการสอนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวก การลบจำนวนเต็ม สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
- เป็นสื่อที่ทันสมัยเหมาะสำหรับนักเรียน แต่ว่าสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 นั้น อาจต้องใช้เวลาในการทำนาน ครูจึงต้องค่อยไปค่อยไปเพื่อให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2553

สรุปการใช้โปรแกรม SPSS (กิจกรรมที่ 3)

ขั้นตอนการใช้โปรแกรม SPSS FOR WINDOWS
การเปิดใช้โปรแกรม
คลิก Start  All Programs  SPSS for Windows  SPSS 11.5 for Windows
หรือ Double Click ไอคอนบนหน้าจอ Windows

เมื่อเข้ามาสู่ด้านหน้าของโปรแกรม SPSS ให้ดำเนินการดังนี้
1. กำหนดค่าตัวแปรใน variable view
1.1 ช่องเซลล์ name พิมพ์ชื่อ ตัวแปรแรก ก็คือ เพศ ส่วนช่องเซลล์ต่อมาพิมพ์ข้อคำถามตามแบบสอบถามที่เราจะวิเคราะห์ข้อมูลตั้งแต่ข้อ 1ไปเรื่อยๆจนถึงข้อสุดท้ายโดยใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษแทนข้อในแต่ละข้อ เช่นข้อที่ 1 แทน a1 ข้อที่ 2 แทน a2 ไปเรื่อยๆจนถึงข้อสุดท้าย
1.2 ช่องเซลล์ width ให้ระบุตัวเลขความกว้างที่ต้องการ
1.3 ช่องเซลล์ decimals เลือกจุดทศนิยมที่ต้องการส่วนใหญ่ที่ใช้คือทศนิยม 2 ตำแหน่ง
1.4 ช่องเซลล์ value ให้ระบุค่าของตัวแปรโดยใช้ตัวเลขแทน เช่น เพศมีอยู่ 2 เพศ ให้ 1 แทน เพศชาย และ 2 แทนเพศหญิง ส่วนข้อคำถามให้ระบุตามค่าที่ได้กำหนดไว้ในแบบสอบถาม คือ 1 แทน น้อยที่สุด 2 แทน น้อย 3 แทน ปานกลาง 4 แทน มาก และ 5 แทน มากที่สุด เพื่อง่ายในการคีย์ข้อมูลลงไปวิเคราะห์
2.พิมพ์ข้อมูลใส่ใน data view ตามลำดับข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ทั้งหมด (20 ชุด) โดยที่ข้อมูลที่คีย์ลงไปนั้นตัวเลขที่ใส่ลงไปต้องเป็นเลข 1-5 เท่านั้น ถ้ามีตัวเลขอื่นแสดงว่าคีย์ลงไปผิด จะต้องคีย์ลงไปใหม่เพราะตอนเรากำหนดค่าตัวแปรนั้นเรากำหนดตัวเลขเป็น 1-5 เท่านั้น
3.เมื่อคีย์ข้อมูลลงไปครบทุกฉบับแล้ว ทำการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
-เลือก transform  compute  sum [a1,a2,a3,a4]/4 คลิก ok เป็นการวิเคราะห์ผลรวม ของข้อคำถามในแต่ละด้าน
-เลือก analyzedescriptive statistic frequencies คลิกเลือกหัวข้อเพศ a1,a2,...d3
แล้วคลิก ok จะแสดงประมวลผลออกมาในรูปความถี่ ค่าเฉลี่ย
-เลือก analyzedescriptive statistic descriptive statistic จะแสดงประมวลผลออกมาในรูปของ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด
-การบันทึกแฟ้มข้อมูล เมื่อป้อนข้อมูลแล้ว สามารถบันทึกข้อมูลที่ป้อนเก็บไว้ใช้ โดยเลือก เมนู File เลือก Save as เลือก Drive ที่ต้องการ แล้วตั้งชื่อแฟ้มข้อมูล คลืก OK โปรแกรมจะบันทึก ไฟล์ ซึ่งมีนามสกุล .sav ให้โดยอัตโนมัติ
-การปิดโปรแกรม เลือกเมนู Flie เลือก Exit โปรแกรมก็จะถูกปิดลง

ผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถามของอาจารย์
1. ตอนที่ 1 ผู้ตอบแบบสอบถาม เพศชาย 12 คน ร้อยละ 60 เพศหญิง 8 คน ร้อยละ 40
2. ตอนที่ 2 แบบสอบถาม
ด้านกระบวนการ / ขั้นตอนการให้บริการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.74 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .38
ด้านวิทยากรผู้ให้บริการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.85 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .43
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.68 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .32
ด้านคุณภาพการให้บริการ ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.83 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .28
ผลรวมของทุกด้าน ระดับความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ย 3.77 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .17